TH
โชห่วยไทย
สนับสนุนให้คุณมีรายได้

เรายินดีให้คำปรึกษาและเปิดการสอนสำหรับเปิดบริการร้านโชห่วย

ทำไม Nostalgia Marketing ขายความคิดถึงอดีตของ Pop Culture ในยุค 90’s อัปถึงเติบโตในยุคทศวรรษ 20(20)

หลายปีที่ผ่านมา เราเห็นศิลปินที่โด่งดังในยุค 80s-90s จัดคอนเสิร์ตในยุคนี้อีกครั้ง และแทบทุกคอนเสิร์ตขายบัตรหมดอย่างรวดเร็วการนำซีรีส์ 3 หนุ่ม 3 มุม กบ แท่ง มอส ที่ประสบความสำเร็จในยุค 90 กลับมาโลดแล่นใหม่ในสไตล์ของ 3 หนุ่ม(ใหญ่) 3 มุมที่เติบโตขึ้น

ศิลปิน Modern Dog นำเพลงชุดเก่ากลับมาจำหน่ายอีกครั้งในดีไซน์เทปคาสเสตต์

การที่แบรนด์ขนมอย่างกูลิโกะ เป๊ปซี่ออกแพ็กเกจในยุคเก่าออกมาเป็นกิมมิกการตลาด

แบรนด์สนีกเกอร์ Collab กับคาแรกเตอร์มังงะ ที่เด็กในยุค 90 รู้จักดี ออกรองเท้าลิมิเต็ดอิดิชั่นออกมาอย่างต่อเนื่อง และการนำรองเท้ารุ่นออริจินัล หรือดีไซน์ Old School กลับมาขายใหม่

ไม่รวมการกลับมาเป็นกระแสของกล้องฟิล์มที่แสนคลาสสิก

หรือแม้แต่ห้างอย่างเซ็นทรัลที่กำลังจะลอนช์ Central The Original Store

นี่ไม่รวมสถานที่ที่มีกลิ่นอายวัฒนธรรมในอดีต เช่น ตลาดน้อย ท่าเตียน ภูเก็ตเมืองเก่า ที่กลายเป็นสถานที่ถ่ายภาพยอดนิยมของคนรุ่นใหม่หรือแม้แต่ร้านรวงต่าง ๆ ที่ตกแต่งให้ย้อนยุค หรือนำบ้านเก่า ประวัติศาสตร์เก่ามาทำเป็นร้านเพื่อเป็นจุดขายที่สำคัญทั้งหมดนี้ คือ Nostalgia Marketing การตลาดที่นำความประทับใจอดีตมาเล่นกับอารมณ์และจิตใจของผู้บริโภคในปัจจุบันที่จะต่อยอดธุรกิจในอนาคตเรามองว่าสิ่งที่ทำให้นักการตลาดในยุค 20(20) มองเห็นอดีตเป็นเครื่องมือการตลาดที่สร้างรายได้ในปัจจุบันมาจาก

1. ขายความเป็น Emotion และ Moment of Life ให้กับผู้บริโภคยุค 90 ในวันนั้น คือผู้มีกำลังซื้อในวันนี้

ผู้บริโภคที่มีวัยเด็ก หรืออยู่ช่วงวัยรุ่นในยุค 90s ในวันนี้จะมีอายุประมาณ 30 ปีขึ้นไป ซึ่งคนกลุ่มนี้ในปัจจุบันเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง จากคนกลุ่มนี้ทำงานมาในระยะเวลาหนึ่ง มีเงินเดือนเป็นของตัวเอง มีรายได้ที่มั่นคงและมีกำลังที่มากพอในการจับจ่ายเพื่อความสุขของตัวเองซึ่งในช่วงที่พวกเขาเป็นเด็กคนกลุ่มนี้จะมีประสบการณ์ที่ดีกับสินค้า บริการ และศิลปินที่สร้างความสุขกับพวกเขาในยุคนั้น แต่อาจจะติดในเรื่องของกำลังซื้อและอื่น ๆ

การที่ความทรงจำในช่วงอดีตยังคงด่ำลึกอยู่ในความทรงจำของผู้บริโภคเหล่านี้อย่างชัดเจนแม้เวลาจะผ่านไปนานแค่ไหนก็ตาม เนื่องจากในยุคนั้นเป็นยุคของอนาล็อก ที่ชีวิตของผู้บริโภคยังอยู่ในยุคของสโลว์ไลฟ์ ที่มีความสุขกับการโฟกัสกับเรื่องราวต่าง ๆ เป็นเวลาที่นาน โดยไม่มีสิ่งเร้าอื่น ๆ เช่น ดิจิทัล เข้ามาเบี่ยงเบนความสนใจอย่างรวดเร็วเหมือนในยุคนี้

และในเวลานั้นสินค้าและคอนเทนต์ต่าง ๆ ยังไม่มีตัวเลือกที่หลากหลายเหมือนทุกวันนี้ ทำให้พวกเขามีความสุขกับการใช้สินค้า ฟังเพลง ดูคอนเทนต์ที่มีอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนาน จนเกิดความผูกพันกับสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้น จนกลายเป็นความประทับใจเศษเสี้ยวหนึ่งในชีวิตซึ่งการนำเรื่องราวในอดีตกลับมามีชีวิตอีกครั้งในยุคปัจจุบัน ผู้บริโภคกลุ่มนี้พร้อมที่ยอมจ่ายเพื่อซื้อความสุขในอดีตให้กลับคืนมาอีกครั้ง เพื่อรำลึกถึงความทรงจำที่สุดแสนประทับใจที่สามารถหวนกลับมาได้อีกครั้งได้เป็นอย่างดี

2. คนยุคใหม่ต้องการหาความหมายในยุคเก่าที่พวกเขาไม่เคยสัมผัส

มีหลายคนกล่าวไว้ว่า ยุคที่คลาสสิกที่สุดอีกยุคหนึ่งคือยุค 90s ซึ่งเป็นยุคที่คาบเกี่ยวระหว่างอนาล็อกกับดิจิทัล ที่มีกลิ่นอายของความโบราณ ผสมผสานกับความไฮเทค

ซึ่งรุ่นใหม่ในยุคนี้มีพ่อแม่ที่เกิดมาในยุคอนาล็อก ที่พร้อมบอกเล่าเรื่องราวในอดีตให้ลูกฟัง จนรุ่นลูกรู้สึกถึงความคลาสสิกที่น่าจดจำในยุคอดีต และเสาะแหวงหาบรรยากาศเหล่านั้นเพื่อเรียนรู้ และสัมผัสกับสิ่งที่พวกเขาไม่เคยเจอมาก่อน

และด้วยความที่คนยุคใหม่อยู่บนโลกโซเชียลมีเดีย พวกเขาจึงถ่ายทอดความเป็น Pop Culture และ Moment of Life ในยุคพ่อแม่ สื่อออกไปทางโซเชียลจนกลายเป็นกระแสที่มีการเติบโตอย่างน่าสนใจ

3. ขายสตอรี่ของแบรนด์ที่มีมานาน

นอกจากนี้ ในส่วนของบางแบรนด์ เช่น เซ็นทรัล ป๊อกกี้ เป๊ปซี่ และอื่น ๆ ที่เราไม่ได้กล่าวถึง ที่นำความเป็นแบรนด์ในยุคดั้งเดิมออกมาสร้างกิมมิกการตลาด เพื่อสื่อสารถึงกลุ่มเป้าหมายถึงความเป็นแบรนด์ที่มีเรื่องราวมาอย่างยาวนานในไทย เพราะเรื่องราวเหล่านี้คือประสบการณ์ที่ผู้บริโภคให้การยอมรับในทุกยุคทุกสมัย ที่สามารถบ่งบอกถึงความแข็งแรงของแบรนด์ ความน่าเชื่อถือของแบรนด์จากรุ่นสู่รุ่นได้เป็นอย่างดี

เพราะอดีตไม่สามารถย้อนกลับไปได้ แต่เราสามารถสร้างคุณค่าทางจิตใจในอดีตให้หวนมาอีกครั้งในยุคปัจจุบันได้ผ่านการตลาด

ขอบคุณเนื้อหาข่าวและภาพจาก

Marketeeronline.co