TH
โชห่วยไทย
สนับสนุนให้คุณมีรายได้

เรายินดีให้คำปรึกษาและเปิดการสอนสำหรับเปิดบริการร้านโชห่วย

ขอหมื่นล้าน แก้ปัญหาน้ำท่วม-ภัยแล้ง 1 จังหวัด

ประชุม ครม.อนุมัติเงิน 14,622.99 ล้านบาท เพื่อบริหารจัดการน้ำตามแผนพัฒนาหนองหาร จ.สกลนคร ระยะเวลา 10 ปี (พ.ศ.63-72) วงเงิน 7,445.22 ล้านบาท เพื่อประโยชน์ที่ดินและการใช้ทรัพยากรในหนองหารอย่างมีประสิทธิภาพในวงเงิน 6,177.77 ล้านบาท เพื่อรับมือปัญหาน้ำท่วม สำหรับแผนพัฒนาหนองหารมี 5 ด้าน รวม 62 โครงการ ได้แก่ 1.การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค 2.การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต 3.แผนด้านการจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย 4.การจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ เพื่อบำบัดน้ำเสียที่ไหลลงบึงหนองหาร และการควบคุมวัชพืชไม่ให้กระทบต่อคุณภาพน้ำ 5.การบริหารจัดการเพื่อปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้ขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ



ส่วนรายละเอียดการอนุมัติงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน วงเงิน 6,177.77 ล้านบาท ได้แก่ 1.โครงการรับมือบรรเทาปัญหาน้ำท่วมและเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำในฤดูฝนปี 63 2.โครงการจัดหาเครื่องสูบน้ำ ที่มีศักยภาพในการสูบน้ำไม่น้อยกว่า 35,000 ลิตร/นาที และส่งน้ำระยะไกลไม่น้อยกว่า 10 กม. พร้อมอุปกรณ์จำนวน 18 คัน คันละ 45 ล้านบาทของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย เพื่อติดตั้งประจำ ณ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต จำนวน 18 ศูนย์ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้อนุมัติจัดหาไปแล้ว 18 คัน


มูลค่าการซื้อขาย 1,952.89 ล้านบาท

ธุรกิจน้ำมันน่าห่วง 'บีพี' คาดความต้องการน้ำมันมีแต่ลด

“ปลัดคลัง” ย้ำถังเงินคงคลังหนา แนะรีบรับนักท่องเที่ยวหารายได้เข้าประเทศ

3.โครงการจัดหาเครื่องจักรกลเพื่อเตรียมความพร้อมในการแก้ปัญหาและบรรเทาอุทกภัยของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อจัดซื้อเครื่องสูบน้ำแบบเคลื่อนที่ รถปั้นจั่นล้อยางและเรือขุดแบ็กโฮ เพื่อทดแทนเครื่องจักรกลเดิมซึ่งมีสภาพเก่า


ภายใต้แผนการบริหารจัดการน้ำ และการพัฒนาหนองหารดังกล่าว มีหน่วยงานรับผิดชอบหลายหน่วยด้วยกันประกอบด้วย กรมชลประทาน กรมโยธาธิการ และผังเมือง สำนักงานที่ดินจังหวัดสกลนคร สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตจำนวน 18 ศูนย์ สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ รวมถึงการประปาส่วนภูมิภาคที่จะต้องรับผิดชอบการจัดการน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และความมั่นคงของน้ำเพื่อภาคการผลิต เป็นต้น


ขอบคุณเนื้อหาข่าวและภาพจาก :ไทยรัฐออนไลน์