TH
โชห่วยไทย
สนับสนุนให้คุณมีรายได้

เรายินดีให้คำปรึกษาและเปิดการสอนสำหรับเปิดบริการร้านโชห่วย

e-Wallet: กระเป๋าเงินออนไลน์ ใช้แบบไม่ต้องพกเงินสด

สังคมไร้เงินสดที่ไทยจะเข้าถึงจริง ๆ ในอีก 6 ปีข้างหน้า เพราะโควิด-19 เป็นตัวเร่ง

แต่อันที่จริงแล้วไทยเองทั้งภาครัฐ แบงก์ และเอกชน ก็ผลักดันให้เราก้าวไปสู่สังคมไร้เงินสดในทุก ๆ วัน

เห็นได้จาก e-Wallet  หรือกระเป๋าเงินดิจิทัลที่มีมากมายให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้บริการ

และเชื่อว่าเกือบทุกคนต้องมี e-Wallet อย่างน้อย 1 แอปติดมือถือ

เพราะหันไปทางไหนก็เจอไม่ว่าจะเป็น  True Money, Rabbit Line Pay, Dolfin, Grab Pay, Get Pay, Lazada Wallet, Blue Pay, Air Pay และอื่น ๆ อีกมากมาย

ยังไม่นับรวมแอป Mobile Banking จากฝั่งธนาคารที่สามารถจ่ายเงินได้เหมือนกันอีก

ที่ทำให้การใช้งาน e-Money เติบโต อ้างอิงข้อความจากธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่า

ปี 2563 มีจำนวนผู้ใช้เพิ่มเป็น 107.77 ล้านบัญชี จากปีก่อนหน้าที่มีจำนวน 89.34 ล้านบัญชี

ในจำนวนนี้เป็นบัญชีผู้ใช้จากกลุ่ม non-bank ถึง 80%

และการแข่งขันของในตลาด e-wallet นี้คือการตอบโจทย์การใช้งานของผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด นอกจากจะเสริมใน ecosystem แล้ว

ต้องมีความต่างที่ต้องทั้งเติม จ่าย โอน หรือมีฟีเจอร์พิเศษที่ตอบโจทย์มากกว่าเจ้าอื่น

ที่ตอนนี้เราเห็นแทบทุกแบรนด์ต่างหาพันธมิตรทั้งร้านค้าและบริการมาเสริมเพื่อดึงดูดให้ลูกค้ามาใช้บริการ

ถ้าไม่นับแอป “เป๋าตัง” ที่ตอนนี้น่าจะมีฐานผู้ใช้งานมากที่สุดจากโครงการต่าง ๆ ของภาครัฐ

หากเจาะลึกลงไปผู้ให้บริการกระเป๋าเงินออนไลน์ในกลุ่ม non-bank ผู้เล่นหลักที่ยังอยู่ และมาก่อนใครเพื่อนคือ TrueMoney ของกลุ่มทรู (ในตอนนั้น AIS และ Dtac ก็มีกระเป๋าเงินออนไลน์ให้บริการเหมือนกัน)

ที่เข้ามาทำตลาดตั้งแต่ปี 2546 ที่ตอนนี้มีจุดรับชำระแบบออฟไลน์กว่า 200,000 แห่งทั่วประเทศ จุดแข็งคือการมาก่อนใครเพื่อนที่ทำให้ TrueMoney มีฐานอย่างแข็งแกร่ง ปัจจุบันมีผู้ใช้แอคทีฟกว่า 17 ล้านคน

Rabbit LINE Pay ที่จุดแข็งคือการเป็นบัตรที่คนเมืองใช้เดินทางกับระบบขนส่งมวลชนอย่างรถไฟฟ้าบีทีเอส เพราะเป็นการจับมือให้บริการกันระหว่าง Rabbit และ LINE Pay เมื่อปี 2559

วันนี้มีฐานลูกค้าที่ใช้ Rabbit LINE Pay อยู่ราว 7.5 ล้านคน

และมูฟเมนต์ล่าสุดกับ “AirPay”  ในเครือ SeaGroup ที่เข้ามาทำตลาดตั้งแต่เมื่อปี 2558 และเข้ามาเป็นหนึ่งในตัวเลือกการชำระเงินให้กับอีคอมเมิร์ซในเครืออย่าง “ช้อปปี้” เมื่อปี 2562

ส่วนในปีนี้ AirPay ประกาศรีแบรนดิ้งเป็น ShopeePay และมีผลบังคับใช้เมื่อ 15 มี.ค. ที่ผ่านมา

แล้วเหตุผลอะไรที่ทำให้ AirPay ตัดสินใจปรับเปลี่ยนในครั้งนี้

ศุภวิทย์ หงส์อมรสิน ผู้อำนวยการ ช้อปปี้เพย์ ประเทศไทย ให้เหตุผลว่า เพราะต้องการสร้าง ecosystem  และการเติบโตในระยะยาว

ที่แม้ศุภวิทย์จะไม่ได้เปิดเผยจำนวนผู้ใช้งานว่ามีจำนวนมากเท่าไร แต่เป้าหมายหลังจากการรีแบรนด์นั้นคือการขึ้นเป็นผู้นำในตลาด e-Wallet ให้ได้ภายใน 1-2 ปี ทั้งในแง่จำนวนผู้ใช้และมูลค่าการทำธุรกรรม

ที่เรามองว่าเขาจะใช้จุดแข็งจาก ecosystem ของการเข้าไปเป็นตัวเลือกการชำระเงินบนช้อปปี้ จากการเติบโตของอีคอมเมิร์ซจากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และหันมาช้อปปิ้งออนไลน์มากขึ้น

และพฤติกรรมเหล่านี้จะยังคงอยู่ต่อไป

ที่จะทำได้มากแค่ไหน คงต้องรอดู

 

สถิติของ ShopeePay ทั้งภูมิภาคอาเซียนในช่วงไตรมาส 4 ปี 2563

มีมูลค่าการทำธุรกรรมรวมที่ 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

มีผู้ใช้งานรวมกว่า 23.2 ล้านราย

TOP 3 คนใช้ ShopeePay  ซื้ออะไร

1. Home&Living

2. Beauty&Personal Care

3. Mobile Gadeget

 

รู้หรือไม่ในประเทศอื่นใช้ชื่อ  ShopeePay มาตั้งแต่ต้น แต่ในไทยนั้นศุภวิทย์บอกว่า AirPay  เข้ามาทำตลาดในไทยก่อนที่ Shopee เข้ามาให้บริการ


ขอขอบคุณเนื้อหาและภาพข่าวจาก

marketeeronline.co