TH
โชห่วยไทย
สนับสนุนให้คุณมีรายได้

เรายินดีให้คำปรึกษาและเปิดการสอนสำหรับเปิดบริการร้านโชห่วย

Online Marketing Trend สิ่งที่ SMEs ต้องเรียนรู้

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ที่ทุกคนทราบกันดีว่าส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคเป็นอย่างมาก ตั้งแต่เริ่มมีระบาดครั้งแรกในเดือน ก.พ.มีการล็อกดาวน์ประเทศ ตามด้วยการผ่อนคลายล็อกดาวน์ หรือผลจากความวิตกกังวลของผู้บริโภคจากการติดเชื้อโควิด-19 อีกครั้งที่จังหวัดระยอง ล้วนสร้างความหวั่นไหวต่อพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างมาก ซึ่งทำให้ SMEs ที่ส่วนใหญ่เป็นการค้าขายและบริการกับผู้บริโภคโดยตรงถูกกระทบอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

ผลกระทบดังกล่าวนอกจากจะทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคและการซื้อสินค้าต่าง ๆ ลดลงแล้ว สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากของพฤติกรรมผู้บริโภคคือ รูปแบบช่องทางการจับจ่ายซื้อสินค้าที่หันมาช็อปปิ้งสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้ e-Commerce มีบทบาทมากขึ้น ดังนั้น ธุรกิจที่จะอยู่รอดในอนาคตจำเป็นต้องปรับตัวเข้าสู่การขายออนไลน์ (e-Commerce) มากขึ้น

จากข้อมูลของ Priceza ในการแถลงข่าว Priceza virtual conference ที่ผ่านมาเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของตลาด e-Commerce ไทยปี 2020 คาดการณ์ว่าตลาด e-Commerce ไทยอาจพุ่งสูงถึง 220,000 ล้านบาท โดยในปี 2020 มีอัตราการเติบโตสูงขึ้น 35% จากปี 2019 ที่มีมูลค่า 163,300 ล้านบาท โดยพบว่าในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 นั้น ยอดขายออนไลน์ในธุรกิจสุขภาพและความงามและสินค้าอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นถึง 34% เมื่อเทียบกับช่วง 2 เดือนก่อนการระบาด หรือแม้แต่ธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าที่แม้ว่าแนวโน้มของภาวะตลาดจะหดตัวตามกำลังซื้อ แต่กลับมียอดขายออนไลน์เพิ่มขึ้นถึง 22% เหล่านี้เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่ายิ่งผู้ประกอบการมีรูปแบบและช่องทางการจับจ่ายซื้อสินค้าที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น ยิ่งทำให้มีโอกาสอยู่รอดมากขึ้น

จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับ SMEs ที่ต้องหารูปแบบช่องทางออนไลน์ที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้มากขึ้น หรือจะเป็น platform ออนไลน์ซึ่งผู้บริโภคติดตามอยู่มากหรือกำลังเป็นที่นิยม จากข้อมูล ETDA สัดส่วนมูลค่าตลาด -Commerce ไทยเฉพาะ B2C (business-to-consumer) และ C2C (consumer to consumer) พบว่าช่องทาง e-Marketplace ถือว่าเป็นช่องทางที่ผู้บริโภคนิยมใช้ในการซื้อของออนไลน์มากที่สุดในปัจจุบัน โดยมีสัดส่วนมูลค่าการซื้อขายสินค้ามากขึ้น จากปี 2018 อยู่ที่ 35% เพิ่มขึ้นมาเป็นสัดส่วนมากที่สุดถึง 47% ในปี 2019 ส่วนของช่องทาง social media และ E-tailer/Brand.com มีมูลค่าการตลาดรองลงมาเท่ากับ 38% และ 15% ตามลำดับ

นอกจาก e-Marketplace ที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องแล้ว การซื้อขายออนไลน์บน social media ในลักษณะ micro marketplace ถือเป็นอีกตลาดที่น่าจับตา จากช่วงโควิดที่เกิดกระแสความช่วยเหลือซึ่งกันและกันของมหาวิทยาลัย และมีการสร้างคอมมิวนิตี้ Facebook group เพื่อเป็นพื้นที่ในการหาสินค้าและบริการที่ต้องการให้แก่นิสิต นักศึกษาปัจจุบัน ศิษย์เก่า รวมถึงบุคลากรในการหารายได้ในภาวะวิกฤต ซึ่งตลอดช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาสามารถดึงทั้งกลุ่มผู้ซื้อและผู้ขายเข้ามามากถึง 1.06 ล้านคน และมียอดการลงขายของมากถึง 5.4 แสนครั้งต่อเดือน

ดังนั้น การที่ SMEs สามารถปรับใช้รูปแบบช่องทางการตลาดที่เหมาะสมและเข้าถึงกับผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้น พร้อมกับการนำเอา digital ecosystem ที่มีอยู่ในตลาดปัจจุบัน เพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วให้ลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง 1) การชำระเงิน (payment) ผ่านรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ 2) การบริการขนส่งสินค้าสำหรับธุรกิจออนไลน์ และ 3) เครื่องมือวิเคราะห์การตลาดและบริหารจัดการธุรกิจ เพื่อช่วยตอบโจทย์ธุรกิจ เช่น Google analytics, Facebook insights ย่อมจะทำให้ SMEs สร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าได้ดีขึ้น และมีแต้มต่อในการอยู่รอด

ในยุคโควิด

ขอบคุณภาพและเนื้อหาข่าวจาก

https://www.prachachat.net